ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 243

๑. ปาณาติปาตสูตร

ว่าด้วยธรรมให้เกิดในนรก - สวรรค์

[๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ย่อมอุบัติในนรก เหมือนถูกนำตัวไปโยนทิ้งฉะนั้น ธรรม ๔ ประการคืออะไร

คือ บุคคลเป็นผู้ทำปาณาติบาตโดยปกติ ทำอทินนาทานโดยปกติ ทำกาเม-

สุมิจฉาจารโดยปกติ พูดมุสาวาทโดยปกติ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

นี้แล ย่อมอุบัติในนรก เหมือนถูกนำตัวไปโยนทิ้งฉะนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมอุบัติ

ในสวรรค์ เหมือนเขาเชิญตัวไปประดิษฐานไว้ฉะนั้น ธรรม ๔ ประการคือ

อะไร คือ บุคคลเป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต เป็นผู้เว้นจากอทินนาทาน เป็น

ผู้เว้น จากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้เว้นจากมุสาวาท บุคคลประกอบด้วยธรรม

๔ ประการนี้แล ย่อมอุบัติในสวรรค์ เหมือนเขาเชิญตัวไปประดิษฐานไว้

ฉะนั้น.

จบปาณาติปาตสูตรที่ ๑

สูตรที่ ๑ - ๔ แห่งวรรคที่ ๔ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

๒. มุสาสูตร

ว่าด้วยธรรมทำให้เกิดในนรก - สวรรค์

[๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ย่อมอุบัติในนรก ฯลฯ ธรรม ประการคืออะไร คือบุคคลเป็นผู้พูดมุสาวาท

โดยปกติ พูดส่อเสียดโดยปกติ พูดคำหยาบโดยปกติ พูดสำรากโดยปกติ

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมอุบัติในนรก ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อม

อุบัติในสวรรค์ ฯลฯ ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือบุคคลเป็นผู้เว้นจาก

มุสาวาท เป็นผู้เว้นจากพูดส่อเสียด เป็นผู้เว้นจากพูดคำหยาบ เป็นผู้เว้นจาก

พูดสำราก บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมอุบัติในสวรรค์

เหมือนเขาเชิญตัวไปประดิษฐานไว้ฉะนั้น.

จบมุสาสูตรที่ ๒

๓. วัณณสูตร

ว่าด้วยธรรมทำให้เกิดในนรก - สวรรค์

[๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ย่อมอุบัติในนรก ฯลฯ ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือ บุคคลไม่ใคร่ครวญ

ไม่สอบสวนแล้ว ชมคนที่ควรติ ๑ ติคนที่ควรชม ๑ ปลูกความเลื่อมใสใน

ฐานะอันไม่ควรเลื่อมใส ๑ แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะอันควรเลื่อมใส ๑

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมอุบัติในนรก ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ประการ ย่อมอุบัติ

ในสวรรค์ ฯลฯ ธรรม ประการคืออะไร คือบุคคลใคร่ครวญสอบสวนแล้ว

ติคนที่ควรติ ๑ ชมคนที่ควรชม ๑ แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะอันไม่ควร

เลื่อมใส ๑ ปลูกความเลื่อมใสในฐานะอันควรเลื่อมใส ๑ บุคคลประกอบด้วย

ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมอุบัติในสวรรค์ เหมือนเขาเชิญตัวไปประดิษฐาน

ไว้ฉะนั้น.

จบวัณณสูตรที่ ๓

๔. โกธสูตร

ว่าด้วยธรรมทำให้เกิดในนรก - สวรรค์

[๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ย่อมอุบัติในนรก ฯลฯ ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือบุคคลเป็นผู้หนักใน

ความโกรธ ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑ เป็นผู้หนักในความลบหลู่ท่าน ไม่

หนักให้พระสัทธรรม ๑ เป็นผู้หนักในลาภ ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑ เป็น

ผู้หนักในสักการะ ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔

ประการนี้แล ย่อมอุบัติในนรก ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อม

อุบัติในสวรรค์ ฯลฯ ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือ บุคคลเป็นผู้หนักใน

พระสัทธรรม ไม่หนักในความโกรธ ๑ เป็นหนักในพระสัทธรรม ไม่หนัก

ในความลบหลู่ท่าน ๑ เป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในลาภ ๑ เป็นผู้

หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในสักการะ ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔

ประการนี้แล ย่อมอุบัติในสวรรค์ เหมือนเขาเชิญตัวไปประดิษฐานไว้ฉะนั้น.

จบโกธสูตรที่ ๔

๕. ตมสูตร

ว่าด้วยบุคคลในโลก ๔ จำพวก

[๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก

บุคคล ๔ จำพวกคือใคร คือ

ตโม ตมปรายโน บุคคลมืดมาแล้ว มีมืดไปภายหน้า

ตโม โชติปรายโน บุคคลมืดมาแล้ว มีสว่างไปภายหน้า

โชติ ตมปรายโน บุคคลสว่างมาแล้ว มีมืดไปภายหน้า

โชติ โชติปรายโน บุคคลสว่างมาแล้ว มีสว่างไปภายหน้า

ก็บุคคลมืดมาแล้ว มีมืดไปภายหน้าเป็นไฉน ? บุคคลบางคนใน

โลกนี้ เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาลก็ดี ตระกูลช่างสานก็ดี ตระกูล

พรานก็ดี ตระกูลช่างหนังก็ดี ตระกูลคนรับจ้างเทขยะก็ดี ทั้งยากจนขัดสน

ข้าวน้ำของกิน เป็นอยู่อย่างแร้นแค้น หาอาหารและเครื่องนุ่งห่มได้โดย

ฝืดเคือง ซ้ำเป็นคนขี้ริ้วขี้เหร่ เตี้ยแคระ มากไปด้วยโรค ตาบอดบ้าง

เป็นง่อยบ้าง กระจอกบ้าง เปลี้ยบ้าง ไม่ใคร่ได้ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน

ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และเครื่องประทีป บุคคลนั้น

ยังประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ

แล้ว กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้แล บุคคล

มืดมาแล้ว มีมืดไปภายหน้า

บุคคลมืดแล้ว มีสว่างไปภายหน้าเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้

เกิดในตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาลก็ดี ฯลฯ ที่นอน ที่อยู่ และเครื่องประทีป

บุคคลนั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา

ใจแล้ว กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อย่างนี้แล บุคคลมืดมา

แล้ว มีสว่างไปภายหน้า

บุคคลสว่างมาแล้ว มีมืดไปภายหน้าเป็นไฉน ? บุคคลบางคนใน

โลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือตระกูลกษัตริยมหาสาลก็ดี ตระกูลพราหมณมหาสาล

ก็ดี ตระกูลคฤหบดีมหาสาลก็ดี มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีเงินทอง

มีข้าวของเครื่องใช้ มีทรัพย์ธัญชาติเป็นอันมาก ทั้งมีรูปร่างสะสวยเจริญตา

เจริญใจ ประกอบด้วยผิวพรรณงดงามยิ่งนัก เป็นผู้มีปกติได้ข้าวน้ำ ผ้า ยวดยาน

ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และเครื่องประทีป บุคคลนั้น

ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว

กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้แล บุคคล

สว่างมาแล้ว มีมืดไปภายหน้า

บุคคลสว่างมาแล้ว มีสว่างไปภายหน้าเป็นไฉน ? บุคคลบางคนใน

โลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือตระกูลกษัตริยมหาสาล ฯลฯ บุคคลนั้นประพฤติ

สุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว กาย

แตกตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อย่างนี้แล บุคคลสว่างมาแล้วมีสว่าง

ไปภายหน้า

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบตมสูตรที่ ๕

อรรถกถาตมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตมสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บุคคลผู้ประกอบด้วยความมืดมีคำเป็นต้นว่า นีจกุเล ปจฺจาชาโต

เกิดในตระกูลต่ำ ดังนี้ ชื่อว่าตมะ มืดมา. บุคคลชื่อว่ามีมืดไปภายหน้า เพราะ

เข้าถึงความมืดคือนรกอีก ด้วยกายทุจริตเป็นต้น แม้ด้วยบททั้งสองดังกล่าว

เป็นอันตรัสถึงความมืดแห่งขันธ์เท่านั้น. บุคคลชื่อสว่างมา เพราะประกอบ

ด้วยความสว่างมีคำเป็นต้นว่า อฑฺฒกุเล ปจฺจาชาโต (เกิดในตระกูลมั่งคั่ง)

ท่านอธิบายว่า เป็นผู้สว่างไสวดังนี้. บุคคลชื่อว่ามีสว่างไปภายหน้า เพราะ

เข้าถึงความสว่างด้วยการเข้าถึงสวรรค์อีก ด้วยกายสุจริตเป็นต้น พึงทราบ

สองบทแม้นอกนี้ โดยนัยนี้.

บทว่า เวนกุเล ได้แก่ ในตระกูลช่างสาน. บทว่า เนสาทกุเล

ได้แก่ในตระกูลพรานล่าเนื้อเป็นต้น . บทว่า รถการกุเล ได้แก่ ในตระกูล

ช่างหนัง. บทว่า ปุกฺกุสกุเล ได้แก่ ในตระกูลคนรับจ้างเทขยะ. พระผู้มี

พระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงตระกูลวิบัติ ด้วยเหตุประมาณเท่านี้แล้ว เพราะ

เหตุที่บุคคลบางคนถึงจะเกิดในตระกูลคนรับจ้างเทขยะ ก็มั่งคั่งมีทรัพย์มากได้

แต่บุคคลผู้นี้หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ฉะนั้น บัดนี้ เพื่อทรงแสดงโภควิบัติของ

บุคคลนั้น จึงตรัสว่า ทลิทฺเท เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ทลิทฺเท

ได้แก่ ประกอบด้วยความจน มีข้าวน้ำและของกินน้อย. บทว่า กสิรวุตฺติเก

ได้แก่ เป็นอยู่ด้วยความทุกข์. อธิบายว่า ให้เขาถึงตระกูลที่คนทั้งหลายให้เขา

ยินดีด้วยความพยาม. บทว่า ยตฺถ กสิเรน ฆาสจฺฉาโท ลพฺภติ ความว่า

เขาได้ข้าวต้มข้าวสวยและอาหาร หรือเครื่องนุ่งห่มพอปิดอวัยวะ ด้วยความ

ลำบากในตระกูลใด.

เพราะเหตุที่บุคคลแม้เกิดในตระกูลนี้ เป็นผู้พร้อมด้วยอุปธิสมบัติ

ตั้งอยู่ในความสำเร็จแห่งอัตภาพ แต่บุคคลผู้นี้หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ฉะนั้น

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงวิบัติทางร่างกายของเขา จึงตรัสว่า โส จ โหติ

ทุพฺพณฺโณ เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุพฺพณฺโณ ความว่า เป็น

คนมีผิวดุจตอไฟไหม้ เหมือนปีศาจคลุกฝุ่น. บทว่า ทุทฺทสิโก ความว่า

แม้มารดาผู้บังเกิดเกล้าเห็นเข้าก็ไม่พอใจ. บทว่า โอโกฏิมโก ได้แก่ เป็น

คนเตี้ย. บทว่า กาโณ ได้แก่ ตาบอดข้างเดียวบ้าง ตาบอดสองข้างบ้าง.

บทว่า กุณี ได้แก่ มีมือพิการข้างเดียวบ้าง มีมือพิการทั้งสองข้างบ้าง. บทว่า

ขญฺโช ได้แก่ มีขาเขยกข้างเดียวบ้าง มีขาเขยกทั้งสองข้างบ้าง บทว่า

ปกฺขหโต ได้แก่ เป็นอัมพาตไปแถบหนึ่ง.

บทว่า ปทีเปยฺยสฺส ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ของประทีปมีน้ำมัน และ

ตัวภาชนะเป็นต้น. ในบทว่า เอวํ โข ภิกฺขเว นี้ บุคคลคนหนึ่ง ยังไม่

ทันเห็นแสงสว่างในภายนอก ตายในครรภ์ของมารดาแล้ว บังเกิดในอบาย

เวียนว่ายอยู่สิ้นทั้งกัป แม้บุคคลนั้น ก็ชื่อว่ามืดมาแล้วมืดไปภายหน้า. ก็เขา

พึงเป็นบุคคลหลอกลวง. ท่านอธิบายว่า ด้วยว่าคนหลอกลวงได้รับผลสำเร็จ

เห็นปานนี้ดังนี้. ในบทเหล่านี้ ทรงแสดงถึงการมาวิบัติ และปัจจัยในปัจจุบัน

วิบัติ ด้วยบทว่า นีเจ กุเล เป็นต้น. ทรงแสดงปัจจัยที่เป็นไปแล้ววิบัติ

ด้วยบทว่า ทลิทฺเท เป็นต้น. ทรงแสดงอุบายเลี้ยงชีพวิบัติ ด้วยบทว่า

กสิรวุตฺติเก เป็นต้น. ทรงแสดงอัตภาพวิบัติ ด้วยบทว่า ทุพฺพณฺโณ เป็นต้น.

ทรงแสดงเหตุแห่งทุกข์ที่มาประจวบเข้า ด้วยบทว่า พหฺวาพาโธ เป็นต้น.

ทรงแสดงเหตุแห่งสุขวิบัติ และเครื่องอุปโภควิบัติ ด้วยบทว่า น ลาภี

เป็นต้น. ทรงแสดงเหตุแห่งความเป็นผู้มืดไปภายหน้ามาประจวบเข้า ด้วย

บทว่า กาเยน ทุจฺจริตํ เป็นต้น. ทรงแสดงการเข้าถึงความมืดในสัมปรายภพ

ด้วยบทว่า กายสฺส เภทา เป็นต้น. สุกกปักข์ (ฝ่ายดี) พึงทราบโดยนัย

ตรงกัน ข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว.

จบอรรถกถาตมสูตรที่ ๕

๖. โอณตสูตร

ว่าด้วยบุคคลในโลก ๔ จำพวก

[๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือ

โอณโตณโต บุคคลต่ำมาแล้ว ต่ำไป

โอณตุณฺณโต บุคคลต่ำมาแล้ว สูงไป

อุณฺณโตณโต บุคคลสูงมาแล้ว ต่ำไป

อุณฺณตุณฺณโต บุคคลสูงมาแล้ว สูงไป

ก็บุคคลต่ำมาแล้ว ต่ำไปเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดใน

ตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาล ฯลฯ บุคคลนั้นยังประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา

ใจ ฯลฯ กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้แล

บุคคลต่ำมาแล้ว ต่ำไป

บุคคลต่ำมาแล้ว สูงไปเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดใน

ตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาล ฯลฯ บุคคลนั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา

ใจ ฯลฯ กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อย่างนี้แล บุคคลต่ำมา

แล้ว สูงไป

บุคคลสูงมาแล้ว ต่ำไปเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดใน

ตระกูลสูงคือ ตระกูลกษัตริยมหาศาล ฯลฯ บุคคลนั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย

วาจา ใจ ฯลฯ กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้แล

บุคคลสูงมาแล้ว ต่ำไป

บุคคลสูงมาแล้ว สูงไปเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดใน

ตระกูลสูง คือตระกูลกษัตริยมหาศาล ฯลฯ บุคคลนั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย

วาจา ใจ ฯลฯ กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อย่างนี้แล บุคคล

สูงมาแล้ว สูงไป

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบโอณตสูตรที่ ๖

อรรถกถาโอณตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโอณตสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โอณโตณโต ความว่า บุคคลต่ำมาในปัจจุบัน ก็จักต่ำไป

ในอนาคต. บทว่า โอณตุณฺณโต ความว่า บุคคลต่ำมาปัจจุบัน จักสูงไป

ในอนาคต. บทว่า อุณฺณโตณโต ความว่า บุคคลสูงมาในปัจจุบัน ก็จัก

ต่ำไปในอนาคต. บทว่า อุณฺณตุณฺณโต ความว่า บุคคลสูงมาในปัจจุบัน

ก็จักสูงไปในอนาคต. ก็ความพิสดารแห่งความเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยอัน

กล่าวไว้ก่อนแล้ว.

จบอรรถถาโอณตสูตรที่ ๖

๗. ปุตตสูตร

ว่าด้วยสมณะ ๔ จำพวก

[๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก ฯลฯ คือ

สมณมจโล สมณะผู้ไม่หวั่นไหว

สมณปุณฺฑรีโก สมณะบุณฑริก

สมณปทุโม สมณะปทุม

สมเณสุ สมณสุขุมมาโล สมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ

ก็สมณะผู้ไม่หวั่นไหวเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็น

พระเสขะ เป็นผู้ยังต้องปฏิบัติ ปรารถนาอยู่ซึ่งธรรมอันเกษมจากโยคะอย่าง

เยี่ยมยอด เปรียบเหมือนพระโอรสองค์ใหญ่ของพระราชา ผู้เป็นกษัตริย์มุรธา-

ภิเษก เป็นผู้ควรแก่การอภิเษก แต่ยังมิได้รับอภิเษก ดำรงอยู่ในตำแหน่ง

พระยุพราช ฉันใด ภิกษุเป็นพระเสขะเป็นผู้ยังต้องปฏิบัติอยู่ ปรารถนาอยู่

ซึ่งธรรมอันเกษมจากโยคะอย่างเยี่ยมยอดฉันนั้นเหมือนกัน อย่างนี้แล บุคคล

เป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว

บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ทำให้แจ้วซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ

มิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่ แต่ว่าไม่ได้ถูกต้อง

วิโมกข์ ๘ ด้วย (นาม) กาย อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะบุณฑริก

บุคคลเป็นสมณะปทุมเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ

มิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่ ทั้งได้ถูกต้องวิโมกข์

๘ ด้วย (นาม) กายด้วย อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะปทุม

บุคคลเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรม

วินัยนี้ บริโภคจีวร โดยนากมีผู้วิงวอน (ให้บริโภค) ที่บริโภคโดยไม่มีใคร

วิงวอน (ให้บริโภค) มีน้อย บริโภคบิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย

โดยมากมีผู้วิงวอน (ให้บริโภค) ที่บริโภคโดยไม่มีใครวิงวอน (ให้บริโภค)

มีน้อย อนึ่ง ภิกษุนั้น อยู่กับ เพื่อนสพรหมจารีเหล่าใด เพื่อนสพรหมจารีเหล่านั้น

ย่อมประพฤติต่อภิกษุนั้นด้วยกายกรรมที่น่าเจริญใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่น่าเจริญ

ใจเป็นส่วนน้อย ประพฤติต่อภิกษุนั้นด้วยวจีกรรม ...มโนกรรมที่น่าเจริญใจ

เป็นส่วนมาก ที่ไม่น่าเจริญใจเป็นส่วนน้อย เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายย่อม

แสดงความยกย่องนับถืออย่างน่าเจริญใจทั้งนั้น ที่ทำอย่างไม่น่าเจริญใจมีเป็น

ส่วนน้อย อนึ่ง ทุกขเวทนาทั้งหลาย ที่มีน้ำดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็น

สมุฏฐานก็ดี มีลมเป็นสมุฏฐานก็ดี ที่มีน้ำดีเป็นสันนิปาติกะ (คือเกิดแต่ดี เสมหะ

และลมรวมกันเป็นสมุฏฐาน ซึ่งเรียกว่าสันนิบาต) ก็ดี ที่เกิดแต่ความเปลี่ยน-

แปลงแห่งฤดูก็ดี เกิดแต่การบริหาร (ร่างกาย) ไม่สม่ำเสมอ (คือเปลี่ยน

อิริยาบถไม่เสมอ) ก็ดี เกิดเพราะถูกทำร้าย (เช่นถูกดี) ก็ดี เกิดด้วยอำนาจ

วิบากของกรรมก็ดี ทุกขเวทนาเหล่านั้นไม่เกิดมีแก่ภิกษุนั้นมากเลย เธอเป็น

ผู้มีอาพาธน้อย เธอได้ตามต้องการ ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔

อันเป็นธรรมเป็นไปในจิตอันยิ่ง เป็นธรรมเครื่องพักผ่อนอยู่สบายในอัตภาพ

ปัจจุบัน เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย เธอกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ

อันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่ อย่าง

นี้แล บุคคลเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะเรียกโดยชอบ จะพึงเรียกบุคคลใดว่าเป็น

สมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ ก็พึงเรียกเรานี้แหละว่าเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่

สมณะแท้จริง เราบริโภคจีวร โดยมากมีผู้วิงวอน (ให้บริโภค) ที่บริโภคโดย

ไม่มีใครวิงวอน (ให้บริโภค) มีน้อย เราบริโภคบิณฑบาตเสนาสนะคิลานปัจจัย

โดยมากมีผู้วิงวอน (ให้บริโภค) ที่บริโภคโดยไม่มีใครวิงวอน (ให้บริโภค)

มีน้อย อนึ่ง เราอยู่กับภิกษุเหล่าใด ภิกษุเหล่านั้นย่อมพระพฤติต่อเราด้วย

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่น่าเจริญใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่น่าเจริญใจ

เป็นส่วนน้อย ภิกษุทั้งหลายย่อมแสดงความยกย่องนับถือเราอย่างน่าเจริญใจ

ทั้งนั้น ที่ทำอย่างไม่น่าเจริญใจมีเป็นส่วนน้อย อนึ่ง ทุกขเวทนาทั้งหลาย

ที่มีน้ำดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็ดี มีลมเป็นสมุฏฐานก็ดี

ที่เป็นสันนิปาติกะก็ดี ที่เกิดแต่ความเปลี่ยนแปลงแห่งฤดูก็ดี เกิดแต่การบริหาร

(ร่างกาย) ไม่สม่ำเสมอก็ดี เกิดเพราะถูกทำร้ายก็ดี เกิดด้วยอำนาจวิบากของ

กรรมก็ดี ทุกขเวทนาเหล่านั้นไม่เกิดมีแก่เรามากเลย เราเป็นผู้มีอาพาธน้อย

อนึ่ง เราได้ตามต้องการ ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อัน เป็นธรรม

เป็นไปในจิตอันยิ่ง เป็นธรรมเครื่องพักผ่อนอยู่สบายในอัตภาพปัจจุบัน เพราะ

สิ้นอาสวะทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ

มิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองสำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

จะเรียกโดยชอบ จะพึงเรียกบุคคลใดว่าเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ ก็พึง

เรียกเรานี้แหละโดยชอบว่าเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ

นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบปุตตสูตรที่ ๗

อรรถกถาปุตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปุตตสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมณมจโล ได้แก่ สมณะไม่หวั่นไหว. อักษรทำบท-

สนธิต่อบท. อธิบายว่า นิจจลสมณะ. ทรงแสดงพระเสขะแม้ ๗ จำพวกด้วย

บทนี้. พระเสขะนั้น ชื่อว่าไม่หวั่นไหว เพราะท่านตั้งมั่นด้วยศรัทธาอันเป็น

มูลในพระศาสนา. บทว่า สมณปุณฺฑริโก ได้เเก่ สมณะดังบัวขาว. ธรรมดา

บัวขาวเกิดในสระมีใบ ๙๙ ใบ. ทรงแสดงพระขีณาสพสุกวิปัสสกผู้บำเพ็ญ

วิปัสสนาล้วนด้วยบทนี้. ด้วยว่าพระขีณาสพสุกขวิปัสสกนั้น ชื่อว่าสมณะดัง

บัวขาว เพราะท่านมีคุณยังไม่บริบูรณ์ โดยที่ฌานและอภิญญาไม่มี. บทว่า

สมณปทุโม ได้แก่ สมณะดังบัวหลวง. ธรรมดาบัวหลวง เกิดในสระมี

ใบครบร้อยใบ. ทรงแสดงพระขีณาสพผู้เป็นอุภโตภาควิมุตด้วยบทนี้. ด้วยว่า

พระขีณาสพอุภโตภาควิมุตนั้น ชื่อว่าสมณะดังบัวหลวง เพราะท่านมีคุณ

บริบูรณ์โดยที่มีฌานและอภิญญา. บทว่า สมเณสุ สมณสุขุมาโล ความว่า

บรรดาสมณะเหล่านั้นแม้ทั้งหมด สมณะสุขุมาลเป็นผู้มีกายและจิตอ่อนโยน

เว้นความทุกข์ทางกายและทางจิต เป็นผู้มีสุขโดยส่วนเดียว. ทรงแสดงพระองค์

และสมณะสุขุมาลเช่นกับพระองค์ ด้วยบทว่า สุขุมาลสมโณ นั้น.

ครั้นทรงตั้งมาติกาหัวข้ออย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงจำแนกไปตาม

ลำดับ จึงตรัสว่า กถญฺจ ภิกฺขเว เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า เสกฺโข

ได้แก่ พระเสขะ ๗ จำพวก. บทว่า ปฏิปโท ได้แก่ เป็นผู้ยังต้องปฏิบัติ.

บทว่า อนุตฺตรํ โยคกฺเขมํ ปฏฺฐยมาโน วิหรติ ความว่า กำลังปรารถนา

พระอรหัต. บทว่า มุทฺธาภิสิตฺตสฺส ความว่า เป็นผู้ได้รับน้ำรดบนพระ-

เศียรคือกษัตริย์มูรธาภิเษกอธิบายว่าได้ทรงมุรธาภิเษกแล้ว. บทว่า อาภิเสโก

ได้แก่ เป็นผู้ควรทำการอภิเษก. บทว่า อนภิสิตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ยังไม่ได้

อภิเษกก่อน. บทว่า มจลปฺปตฺโต ได้แก่ ถึงภาวะดุจตำแหน่งพระยุพราช

มีความปรารถนามั่นคง (ไม่คลอนแคลน) เพื่อประโยชน์แก่การอภิเษกเพราะ

เป็นพระโอรสของพระราชา ผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก เพราะเป็นเชษฐโอรส

บรรดาพระโอรสทั้งหลาย และเพราะยังไม่ได้อภิเษกก่อน. อักษรเป็นเพียง

นิบาต.

บทว่า กาเยน ผุสิตฺวา ความว่า ถูกต้องแล้วด้วยนามกาย. บทว่า

ยาจิโตว พหุลํ จีวรํ ปริภุญฺชติ ความว่า สมณสุขุมาลโดยมากบริโภค

จีวรที่ทายกน้อมเข้าไปถวายด้วยร้องขออย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า โปรดบริโภคจีวรนี้

ดังนี้แล้ว เฉพาะจีวรที่เขาไม่ร้องขอก็น้อยเหมือนท่านพระพักกุลเถระ เฉพาะ

บิณฑบาต (อาหาร) ก็เหมือนท่านพระสิวลีเถระในทางไปป่าไม้ตะเคียน.

เฉพาะเสนาสนะก็เหมือนท่านพระอานนทเถระในอัฏฐกนาครสูตร เฉพาะคิลาน-

ปัจจัย ก็เหมือนท่านพระปิลินทวัจฉเถระ. บทว่า ตฺยสฺส ตัดบทเป็น เต

อสฺส. บทว่า มนาเปเนว ได้แก่อัน เป็นที่ต้องใจ. บทว่า สมุทาจรนฺติ

ความว่า ทำหรือประพฤติกิจที่ควรทำ. บทว่า อุปหารํ อุปหรนฺติ ความว่า

เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ย่อมนำเข้าไป คือน้อมเข้าไปซึ่งสิ่งที่พอใจทั้งทางกาย

และทางจิต. บทว่า สนฺนิปาติกานิ ความว่า อันเกิดเพราะการประชุมกัน

แห่งสมุฏฐานทั้งสาม. บทว่า อุตุปริณามชานิ ความว่า เกิดแต่ความ

เปลี่ยนแปลงแห่งฤดูคือแต่ฤดูที่หนาวเกินไปหรือร้อนเกินไป. บทว่า

วิสมปริหารชานิ ความว่า เกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ โดยมีนั่งนานหรือ

ยืนนานเป็นต้น. บทว่า โอปกฺกมิกานิ ความว่า เกิดเพราะถูกทำร้าย

มีการฆ่าและการจองจำเป็นต้น. บทว่า กมฺมวิปากชานิ ความว่า เกิดด้วย

สามารถแห่งวิบากของกรรมที่ทำแล้วในกาลก่อนอย่างเดียว แม้เว้นจากเหตุ

เหล่านี้. ในบทว่า จตุนฺนํ ฌานานํ นี้ท่านประสงค์กิริยาฌานเท่านั้น ทั้ง

ของพระขีณาสพทั้งของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. บทที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาปุตตสูตรที่ ๗

๘. สังโยชนสูตร

ว่าด้วยสมณะ ๔ จำพวก

[๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือ

สมณมจโล สมณะผู้ไม่หวั่นไหว

สมณปุณฺฑรีโก สมณะบุณฑริก

สมณปทุโม สมณะปทุม

สมเณสุ สมณสุขุมาโล สมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ

บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ เป็นพระโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง-

แท้ที่จะได้ตรัสรู้ในข้างหน้า อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว

บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ เพราะราคะโทสะโมหะเบาบาง เป็นพระสกทาคามี มาสู่

โลกนี้อีกคราวเดียว จักทำที่สุดทุกข์ได้ อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะบุณฑริก

บุคคลเป็นสมณะปทุมเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะ

สิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในโลกที่เกิดนั้น มีอันไม่

กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะปทุม

บุคคลเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรม

วินัยนี้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย การทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ

อันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่ อย่างนี้แล

บุคคลเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบสังโยชนสูตรที่ ๘

อรรถกถาสังโยชนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสังโยชนสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

พระโสดาบัน เรียกว่า สมณะผู้ไม่หวั่นไหว เพราะท่านได้ศรัทธา

ตั้งมั่นแล้วในพระศาสนา. พระสกทาคามี เรียกว่า สมณะดังบัวขาว ดุจบัวขาว

เกิดในสระมีใบไม่มาก เพราะท่านเป็นผู้มีคุณยังไม่มากนัก. พระอนาคามี

เรียกว่า สมณะดังบัวหลวง ดุจบัวหลวงมีร้อยใบเกิดในสระ เพราะท่านมีคุณ

มากกว่านั้น. พระขีณาสพผู้ถึงความอ่อนโยน เรียกว่า สมณะสุขุมาล เพราะ

กิเลสที่ทำความกระด้างท่านถอนได้แล้วโดยประการทั้งปวง.

จบอรรถกถาสังโยชนสูตรที่ ๘

๙. ทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยสมณะ ๔ จำพวก

[๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือ

สมณมจโล สมณะผู้ไม่หวั่นไหว

สมณปุณฺฑรีโก สมณะบุณฑริก

สมณปทุโม สมณะปทุม

สมเณสุ สมณสุขุมาโล สมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ

ก็บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัย

นี้เป็นผู้มีความเห็นชอบ มีความดำริชอบ มีวาจาชอบ มีการงานชอบ มี

อาชีพชอบ มีความพยายามชอบ มีสติชอบ มีสมาธิชอบ อย่างนี้แล บุคคล

เป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว

บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกเป็นอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ มีสมาธิชอบ มีญาณชอบ มีวิมุตติชอบ แต่ไม่

ได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วย (นาม) กาย อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะบุณฑริก

บุคคลเป็นสมณะปทุมเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มี

ความเห็นชอบ ฯลฯ มีวิมุตติชอบ ทั้งได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วย (นาม) กายด้วย

อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะปทุม

บุคคลเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระ-

ธรรมวินัยนี้ บริโภคจีวร โดยมากมีผู้วิงวอน (ให้บริโภค) ที่บริโภคโดย

ไม่มีผุ้วิงวอน (ให้บริโภค) มีน้อย ฯลฯ อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะ

สุขุมาลในหมู่สมณะ

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก.

จบทิฏฐิสูตรที่ ๙

อรรถกถาทิฏฐิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทิฏฐิสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

ด้วยบทเป็นต้นว่า สมฺมาทิฏฺฐิโก ทรงหมายถึงพระเสขะ ๗ จำพวก

เหมือนในสูตรแรก ด้วยอำนาจมรรคมีองค์ ๘. วาระที่สอง ตรัสพระ-

ขีณาสพสุกขวิปัสสกผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน พร้อมด้วยอรหัตผลญาณ และ

อรหัตผลวิมุตติ ด้วยอำนาจแห่งมรรคมีองค์ ๑๐ หรือด้วยอำนาจแห่งมรรค

มีองค์ ๘. ในวาระที่สาม ตรัสพระขีณาสพผู้เป็นอุภโตภาควิมุต. วาระที่สี่

ตรัสถึงพระตถาคต และพระขีณาสพเช่นกับพระตถาคตอย่างนี้. ดังนั้น

พระสูตรนี้ ตรัสด้วยอำนาจบุคคลที่กล่าวในสูตรแรก แต่ในพระสูตรนี้ต่างกัน

เพียงเทศนาเท่านั้น.

อรรถกถาทิฏฐิสูตรที่ ๙

๑๐. ขันธสูตร

ว่าด้วยสมณะ ๔ จำพวก

[๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือ

สมณมจโล สมณะผู้ไม่หวั่นไหว

สมณปุณฺฑรีโก สมณะบุณฑริก

สมณปทุโม สมณะปทุม

สมเณสุ สมณสุขุมาโล สมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ

ก็บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัย

นี้เป็นพระเสขะ ยังไม่สำเร็จมโนรถ ยังปรารถนาธรรมอันเกษมจากโยคะอย่าง

ยอดเยี่ยมอยู่ อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว

บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกเป็นอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็น

ผู้เล็งเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมดับไปในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่าอย่างนี้รูป

อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับไปแห่งรูป อย่างนี้เวทนา. . .

สัญญา...สังขาร. . .วิญญาณ ฯลฯ อย่างนี้ ความดับไปแห่งเวทนา. . .สัญญา

. . . สังขาร. . .วิญญาณ แต่ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วย (นาม) กาย อย่างนี้แล

บุคคลเป็นสมณะบุณฑริก

บุคคลเป็นสมณะปทุมเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้

เล็งเห็นความเกิดขึ้นและความดับไปในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า อย่างนี้รูป ฯลฯ

อย่างนี้ความดับไปแห่งเวทนา. . .สัญญา. . .สังขาร. . .วิญญาณ ทั้งได้ถูกต้อง

วิโมกข์ ๘ ด้วย (นาม) กายด้วย อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะปทุม

บุคคลเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระ-

ธรรมวินัยนี้ บริโภคจีวร โดยมากมีผู้วิงวอน (ให้บริโภค) ที่บริโภคโดยไม่มี

ผู้วิงวอน (ให้บริโภค) มีน้อย ฯลฯ อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะสุขุมาล

ในหมู่สมณะ

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบขันธสูตรที่ ๑๐

จบมจลวรรคที่ ๔

อรรถกถาขันธสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในขันธสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

วาระที่ ๑ ตรัสพระเสขบุคคล ผู้ยังไม่เริ่มความเพียรเพื่อพระอรหัต

ยังดำรงอยู่ด้วยความประมาท. วาระที่ ๒ ตรัสพระเสขบุคคล ผู้ยังไม่ได้ฌาน

แต่เริ่มวิปัสสนาอยู่ด้วยความไม่ประมาท. วาระที่ ๓ ตรัสพระเสขบุคคล ผู้เริ่ม

วิปัสสนาอยู่ด้วยความไม่ประมาท ได้วิโมกข์ ๘. วาระที่ ๔ ตรัสพระขีณาสพ

ผู้เป็นสุขุมาลเป็นอย่างยิ่งแล.